- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 20-26 ธันวาคม 2564
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,054 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,895 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.60
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,840 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,691 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.94
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 24,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,990 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 661 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,042 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 668 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,141 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.05 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 99 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 397 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,238 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 402 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,324 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.24 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 86 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,338 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 405 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,424 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.23 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 86 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.3457 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ฟิลิปปินส์
สำนักงานอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) รายงานว่า ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2564 (มกราคม-พฤศจิกายน 2564) มีการนําเข้าข้าวประมาณ 2.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับจำนวนประมาณ 1.98 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมากกว่าการนําเข้าทั้งปี 2564 ที่มีการนําเข้าข้าวประมาณ 2.099 ล้านตัน และมากกว่าปี 2551 ที่เคยนําเข้ามากถึง 2.4 ล้านตัน ซึ่งฟิลิปปินส์เคยนําเข้าข้าวมากที่สุดถึง 3.1 ล้านตัน ในปี 2562)
ทั้งนี้ ข้อมูลการนําเข้าข้าวล่าสุดจนถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2564 มีการนําเข้าข้าวประมาณ 2.6 ล้านตัน โดยประเทศเวียดนามยังคงเป็นแหล่งนําเข้าข้าวที่สำคัญของฟิลิปปินส์ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 - 9 ธันวาคม 2564 มีการนําเข้าข้าวจากเวียดนามประมาณ 2.218 ล้านตัน โดยผู้นําเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุด ได้แก่ บริษัท Nan Stu Agri Traders ซึ่งนับจนถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2564 มีการนําเข้าข้าวประมาณ 147,822.95 ตัน รองลงมา บริษัท Lucky Buy and Sell นําเข้าประมาณ 117,821.6 ตัน
โดยในเดือนพฤศจิกายน 2564 สำนักงานอุตสาหกรรมพืชได้ออกใบอนุญาตสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (sanitary and phytosanitary import clearances; SPS-ICs) ให้แก่ ผู้ยื่นขออนุญาตนําเข้าข้าวจำนวน 400 ใบ
เพื่อนําเข้าข้าวประมาณ 303,329.606 ตัน และในช่วงระหว่างวันที่ 1-4 ธันวาคม 2564 สำนักงานอุตสาหกรรมพืชได้ออกใบอนุญาตสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS-ICs) ให้แก่ ผู้ยื่นขออนุญาตนําเข้าข้าวจำนวน 43 ใบ เพื่อนําเข้าข้าวประมาณ 42,662 ตัน ซึ่งนับจนถึงปัจจุบันนี้ (1 มกราคม-4 ธันวาคม 2564) สำนักงานอุตสาหกรรมพืชได้ออกใบอนุญาตสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS-ICs) ให้แก่ผู้ยื่นขออนุญาตนําเข้าข้าวจำนวน 5,927 ใบ เพื่อนําเข้าข้าวประมาณ 5.22 ล้านตัน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำสุด นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 เนื่องจาก
ค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงในรอบ 2 เดือน ขณะที่อุปทานข้าวจากฤดูการผลิตฤดูร้อน (the summer-sown crop) ในตลาดมีมากขึ้น ทำให้ผู้ซื้อต่างรอดูราคาข้าวที่คาดว่ามีแนวโน้มอ่อนตัวลงอีก โดยราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ระดับ 351-356 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เท่ากับเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ราคาข้าวอินเดียเป็นที่ดึงดูดใจของผู้ซื้อข้าวมากขึ้น
สำนักงานข่าวสารและสถิติเชิงพาณิชย์ (Directorate General of Commercial Intelligence and Statistics; DGCIS) รายงานว่า ในเดือนตุลาคม 2564 อินเดียส่งออกข้าวได้ประมาณ 1.64 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15
เมื่อเทียบกับจำนวน 1.413 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ตุลาคม 2563) แต่ลดลงประมาณร้อยละ 7.86
เมื่อเทียบกับจำนวน 1.78 ล้านตัน ในเดือนกันยายน 2564 โดยชนิดข้าวที่ส่งออกในเดือนตุลาคม 2564 ประกอบด้วย ข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติจำนวน 1.428 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 35.22 เมื่อเทียบกับจำนวน 1.056 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ตุลาคม 2563) และข้าวบาสมาติจำนวน 0.214 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 40.22 เมื่อเทียบกับจำนวน 0.358 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ตุลาคม 2563)
ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2564/65 (เมษายน-ตุลาคม 2564) อินเดียส่งออกข้าวได้ประมาณ 11.794 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.26 เมื่อเทียบกับจำนวน 8.917 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (เมษายน-ตุลาคม 2563) ประกอบด้วย ข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติประมาณ 9.63 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 56.03 เมื่อเทียบกับ 6.172 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (เมษายน-ตุลาคม 2563) และข้าวบาสมาติประมาณ 2.163 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 21.17 เมื่อเทียบกับจำนวน 2.744 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (เมษายน-ตุลาคม 2563) โดย ตลาดสำคัญของข้าวบาสมาติ (aromatic long grained rice) ประกอบด้วย ประเทศซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน อิรัก เยเมน สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ สหรัฐฯ คูเวต สหราชอาณาจักร กาตาร์โอมาน เป็นต้น ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนของการส่งออกประมาณร้อยละ 80 ขณะที่ในส่วนของข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติ มีการนําเข้าเพิ่มขึ้นจากประเทศที่ไม่เคยนําเข้าหรือเคยนําเข้าในปริมาณน้อยมาก่อน เช่น ติมอร์-เลสเต เปอร์โตริโก บราซิล ปาปัวนิวกินี ซิมบับเว บูรุนดี เอสวาตินี เมียนมาร์ นิคารากัว เป็นต้น
ขณะที่ ทางการอินเดียคาดว่าในปีงบประมาณ 2564/65 อินเดียจะสามารถส่งออกข้าวได้มากกว่าปีที่ผ่านมา
ที่ส่งออกได้มากเป็นประวัติการณ์ที่ 17.72 ล้านตัน โดย Dr. Madhaiyaan Angamuthu ประธานขององค์การพัฒนา
การส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูป (Agricultural and Processed Food Products Exports Development Authority; APEDA) ระบุว่า อินเดียยังคงจัดส่งข้าวออกสู่ตลาดโลก เพื่อสร้างความมั่นใจในความมั่นคงด้านอาหาร
ในหลายประเทศ ในขณะที่หลายประเทศกําลังกักตุนสินค้าท่ามกลางปัญหาด้านโลจิสติกส์ของการขนส่งสินค้าทางเรืออันเนื่องมาจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2563/64 (เมษายน 2563-มีนาคม 2564) อินเดียส่งออกข้าวจำนวน 17,719,472 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 86.3 เมื่อเทียบกับจำนวน 9,511,049 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่าประมาณ 8,815 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 38.8 เมื่อเทียบกับ 6,351 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา จําแนกเป็น การส่งออกข้าวบาสมาติจำนวน 4,631,531 ตัน มูลค่าประมาณ 4,019 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และราคาส่งออกเฉลี่ย 868 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน โดยที่ปริมาณเพิ่มขึ้นประมาณ 3.97% แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 7.2 และราคาส่งออกเฉลี่ยลดลงร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับจำนวน 4,454,771 ตัน มูลค่าประมาณ 4,331 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และราคาส่งออกเฉลี่ย 972 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ในช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ขณะที่การส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติจำนวน 13,087,941 ตัน มูลค่าประมาณ 4,796 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และราคาส่งออกเฉลี่ย 366 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน โดยทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 158.8และร้อยละ 137.4 ตามลำดับ ขณะที่ราคาส่งออกเฉลี่ยลดลงร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับจำนวน 5,056,278 ตัน มูลค่าประมาณ 2,020 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และราคาส่งออกเฉลี่ย 399 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.02 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.05 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.23 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.45 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.26 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.17
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 319.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,624.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 320.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,600.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 24.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2564/65 มีปริมาณ 1,195.88 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,136.40 ล้านตัน ในปี 2563/64 ร้อยละ 5.23 โดยสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล อินเดีย อียิปต์ แคนาดา ญี่ปุ่น อาร์เจนตินา อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ ไนจีเรีย และรัสเซีย มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 192.74 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 183.41 ล้านตัน ในปี 2563/64 ร้อยละ 5.09 โดยอาร์เจนตินา ยูเครน บราซิล สหภาพยุโรป รัสเซีย แอฟริกาใต้ และปารากวัย ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป เวียดนาม อียิปต์ อิหร่าน โคลัมเบีย แอลจีเรีย เปรู มาเลเซีย ซาอุดีอาระเบีย ตุรกี แคนนาดา โมร็อกโก และบราซิล มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 599.00 เซนต์ (7,969.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชล 587.00 เซนต์ (7,784.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.04 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 185.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.664 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.387 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.796 ล้านไร่ ผลผลิต 32.499 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.318 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ลดลงร้อยละ 1.35 แต่ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.71 และร้อยละ 2.08 ตามลำดับ โดยเดือนธันวาคม 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.95 ล้านตัน (ร้อยละ 9.01 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.30 ล้านตัน (ร้อยละ 62.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นและคุณภาพดี สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.28 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.29 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.44
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.24 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.48 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.70
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.61 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.45
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.06 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.05 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.07
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,336 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 255 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,452 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.96
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 488 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,273 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (16,175 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2564 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 0.929 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.167 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.070 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.193 ล้านตันของเดือนพฤศจิกายน คิดเป็นร้อยละ 13.18 และร้อยละ 13.47 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 9.07 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 8.73 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.89
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 47.45 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 46.25 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.59
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
อินเดียอนุญาตให้นำเข้าน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เพื่อพยายามทำให้ราคาน้ำมันพืชในประเทศลดลง ซึ่งอาจทำให้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์เพิ่มขึ้นและลดการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบลง เนื่องจากภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียสูงกว่าภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ โดยคาดการณ์ว่าในปี 2564/65 อินเดียจะมีการนำเข้าน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ 1.50 ล้านตัน และนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบ 7 ล้านตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,915.06 ดอลลาร์มาเลเซีย (39.76 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,808.62 ดอลลาร์มาเลเซีย (38.58 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.21
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,306.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (44.12 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,294.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (43.47 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.93
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ USDA เพิ่มปริมาณการจัดสรรตลาดน้ำตาลปี 2564/2565 (OAQ)ขึ้น 393,000 ตัน เป็น 9.8 ล้านตัน ท่ามกลางราคาน้ำตาลในประเทศที่สูงและคาดว่าจะมีการปลูกบีทสูงเป็นประวัติการณ์ สิ่งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่นักทำขนมในสหรัฐฯ ประสบปัญหาในการจัดหาน้ำตาลให้เพียงพอ เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นก่อนเทศกาลวันหยุด ขณะที่พ่อค้ารายหนึ่งกล่าวว่า มีความสนใจที่จะเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนอย่างข้าวโพด แม้ว่าราคาน้ำเชื่อมข้าวโพดก็จะสูงขึ้นเช่นกัน
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า แม้จะมีปัจจัยพื้นฐานโดยรวมที่เป็นบวก แต่การขยับขึ้นของราคาในตลาดน้ำตาลก็ดูไม่น่าจะเป็นไปได้จนกว่ากองทุนจะตอบสนองต่อความเสี่ยงอีกครั้ง อย่างไรก็ตามที่ปรึกษาท่านหนึ่งแย้งว่าปริมาณน้ำฝนที่ดีในภาคกลาง-ใต้ของบราซิล และราคาน้ำมันที่ลดลงอาจทำให้ราคาเพิ่มขึ้นได้ ตลาดเกษตรโดยรวมทำได้ดีในปี 2564 โดยน้ำตาลเพิ่มขึ้น 20%
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,315.20 เซนต์ (16.32 บาท/กก.)สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,265.64 เซนต์ (15.62 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.92
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 397.28 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.42 บาท/กก.)สูงขึ้นจากตันละ 382.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.86
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 54.28 เซนต์ (40.40 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 53.45 เซนต์ (39.57 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.55
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,315.20 เซนต์ (16.32 บาท/กก.)สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,265.64 เซนต์ (15.62 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.92
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 397.28 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.42 บาท/กก.)สูงขึ้นจากตันละ 382.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.86
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 54.28 เซนต์ (40.40 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 53.45 เซนต์ (39.57 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.55
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.36 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.71 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.86
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 900.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.01 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 904.40 ดอลลาร์สหรัฐ (29.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 809.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.99 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 813.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.96 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,262.40 ดอลลาร์สหรัฐ (42.10 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,268.40 ดอลลาร์สหรัฐ (42.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 688.60 ดอลลาร์สหรัฐ (22.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 692.00 ดอลลาร์สหรัฐ (22.94 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,226.20 ดอลลาร์สหรัฐ (40.89 บาท/กก.) ลดลงจากตัน 1,232.00 ดอลลาร์สหรัฐ (40.84 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 46.75 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.39
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.86 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.73
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 107.69 เซนต์(กิโลกรัมละ 80.19 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 107.02 เซนต์ (กิโลกรัมละ 79.26 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63 (เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.93 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,620 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 1,595 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.57 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,375 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 996 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 77.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.15 คิดเป็นร้อยละ 2.14 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 71.49 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 67.96 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 82.88 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 78.91 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,900 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 2,600 บาท คิดเป็นร้อยละ 11.54 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.50 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 80.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.97 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.12 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.45 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 42.91 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.98 จากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 288 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 304 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 282 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 286 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.13 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 355 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 356 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.32 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 367 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 370 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 327 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 369 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.05 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 97.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 97.60 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.26 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 95.77 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 99.02 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.13 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.97 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.28 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.17 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.62 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 77.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.15 คิดเป็นร้อยละ 2.14 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 71.49 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 67.96 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 82.88 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 78.91 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,900 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 2,600 บาท คิดเป็นร้อยละ 11.54 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.50 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 80.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.97 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.12 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.45 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 42.91 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.98 จากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 288 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 304 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 282 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 286 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.13 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 355 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 356 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.32 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 367 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 370 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 327 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 369 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.05 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 97.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 97.60 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.26 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 95.77 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 99.02 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.13 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.97 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.28 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.17 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.62 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 20 – 26 ธันวาคม 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 42.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.00 บาท เนื่องจากตลาดมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.47 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.30 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 166.18 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 163.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.60 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 178.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 171.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.66 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.01 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 71.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.48 บาท เนื่องจากชาวประมงจับปลาได้เพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคค่อนข้างคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.58 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมาสำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป
ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 20 – 26 ธันวาคม 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 42.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.00 บาท เนื่องจากตลาดมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.47 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.30 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 166.18 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 163.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.60 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 178.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 171.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.66 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.01 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 71.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.48 บาท เนื่องจากชาวประมงจับปลาได้เพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคค่อนข้างคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.58 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมาสำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป
ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท